Local Learn Center แหล่งเรียนรู้ของคนท้องถิ่น โดยคนท้องถิ่น เพื่อคนท้องถิ่น

หลักสูตรการสอบแข่งขันประเภทวิชาการระดับปฏิบัติการ-2

หลักสูตรการสอบแข่งขันประเภทวิชาการระดับปฏิบัติการ-2
หลักสูตรและวิธีการสอบแข่งขัน ตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ
เพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2560
(แนบท้ายประกาศคณะกรรมการกลางการสอบแข่งขันพนักงานส่วนท้องถิ่น ลงวันที่ 26 กรกฎาคม 2560)
.........................................................................
หลักสูตรและวิธีการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น มีทั้งหมด 3 ภาค โดยจะสอบภาคความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก) และภาคความรู้ความสามารถเฉพาะสาหรับตำแหน่ง (ภาค ข.) ก่อน แล้วจึงให้ผู้สอบผ่านภาคความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก.) และ ภาคความรู้ความสามารถเฉพาะสาหรับตำแหน่ง (ภาค ข.) ตามเกณฑ์ในประกาศรับสมัครแล้ว มีสิทธิเข้าสอบภาคความเหมาะสมกับตำแหน่ง (ภาค ค.) โดยหลักสูตรและวิธีการสอบแข่งขันมีรายละเอียด ดังนี้
1. ภาคความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก) (คะแนนเต็ม 100 คะแนน)
เป็นการทดสอบโดยวิธีการสอบข้อเขียนแบบปรนัย โดยคำนึงถึงระดับความรู้ความสามารถที่ต้องการตามระดับตำแหน่ง ดังต่อไปนี้
1.1 วิชาความสามารถในการศึกษา วิเคราะห์และสรุปเหตุผล (คะแนนเต็ม 30 คะแนน) เป็นการทดสอบความสามารถในการศึกษา วิเคราะห์และสรุปเหตุผล ในเรื่องดังต่อไปนี้
(1) ความสามารถในการสรุปความ หรือจับประเด็นในข้อความหรือเรื่องราว
(2) ความสามารถในการวิเคราะห์เหตุการณ์หรือสรุปเหตุผลทางการเมือง เศรษฐกิจหรือสังคม เช่น หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอพียง โมเดลเศรษฐกิจประเทศไทย 4.0 หรือ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 เป็นต้น
(3) ความสามารถในการหาแนวโน้มหรือความเปลี่ยนแปลงที่น่าจะเป็นไปตามข้อมูลหรือสมมติฐาน
(4) ความสามารถในการวิเคราะห์และสรุปเหตุผลอย่างอื่น เช่น สรุปเหตุผลเกี่ยวกับตัวเลข และข้อมูลต่าง ๆ การคิดสรุปหาเหตุผล และอุปมาอุปไมย เป็นต้น
1.2 วิชาความรู้พื้นฐานในการปฏิบัติราชการ (คะแนนเต็ม 30 คะแนน) เป็นการทดสอบความพื้นฐานที่เกี่ยวกับกฎหมายในการปฏิบัติราชการ ในเรื่องดังต่อไปนี้
1 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560
2 พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
3 พระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
4 พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
5 พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
6 พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา พ.ศ. 2542
7 พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542
8 พระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542
9 พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546
10 พระราชบัญญัติการอานวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ. 2558
11 ระเบียบสานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
1.3 วิชาภาษาไทย (คะแนนเต็ม 20 คะแนน) เป็นการทดสอบความรู้และความสามารถในการใช้ภาษา โดยการอ่านจับใจความ การสรุปความ การตีความ การขยายความจากข้อความสั้นๆ หรือบทความ และให้พิจารณาเลือกใช้ภาษาในรูปแบบต่างๆ จากคาหรือกลุ่มคา ประโยคหรือข้อความสั้นๆ การเรียงข้อความ การสะกดคา การแต่งประโยค และคาศัพท์
1.4 วิชาภาษาอังกฤษ (คะแนนเต็ม 20 คะแนน) เป็นการทดสอบความรู้และความสามารถภาษาอังกฤษขั้นพื้นฐาน ทางการอ่าน การสรุปความ การตีความ และความเข้าใจสาระสำคัญของข้อความในระดับเบื้องต้น
2. ภาคความรู้ความสามารถเฉพาะสาหรับตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ (ภาค ข) (คะแนนเต็ม 100 คะแนน) เป็นการทดสอบความรู้ความสามารถในทางที่จะใช้ในการปฏิบัติงานในหน้าที่ของตำแหน่งที่สมัครสอบโดยเฉพาะ โดยวิธีการสอบข้อเขียนแบบปรนัย ในเรื่องดังต่อไปนี้
ที่ ตำแหน่งที่สมัครสอบ ขอบเขตเนื้อหาที่สอบ
17 นักจัดการงานเทศกิจปฏิบัติการ 1. พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539
2. พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539
3. พระราชบัญญัติจัดระเบียบการจอดยานยนต์ในเขตเทศบาลและสุขาภิบาล พ.ศ. 2503 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
4. พระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
6. พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
7. พระราชบัญญัติคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ พ.ศ. 2535
8. พระราชบัญญัติมาตราชั่งตวงวัด พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
9. พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ในส่วนของการห้ามเข้าห้ามใช้อาคารผิดกฎหมาย)
10. ความรู้เกี่ยวกับการตรวจสอบ การจัดระเบียบตลาด หาบเร่ แผงลอย จุดผ่อนผัน จุดทบทวน จุดกวดขันพิเศษ จุดห้ามขายเด็ดขาด
11. ความรู้ที่เกี่ยวกับงานตาม “ลักษณะงานที่ปฏิบัติ” ของตำแหน่งที่สมัครสอบ
18 นักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยปฏิบัติการ 1. พระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
2. พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
3. พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการป้องกันอัคคีภัย)
4. กฎกระทรวงแรงงาน เรื่อง กำหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการและดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับการป้องกันและระงับอัคคีภัย พ.ศ. 2555
5. ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2556 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
6. ความรู้เกี่ยวกับการดำเนินการและปฏิบัติการเกี่ยวกับการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เช่น การสำรวจตรวจตราเพื่อป้องกันและระงับอัคคีภัย การป้องกันและบรรเทาอันตรายจากอุทกภัย วาตภัย และภัยอื่นๆ การฟื้นฟูและบรรเทาทุกข์ผู้ประสบภัย เป็นต้น 
7. ความรู้ที่เกี่ยวกับงานตาม “ลักษณะงานที่ปฏิบัติ” ของตำแหน่งที่สมัครสอบ
19 นักวิชาการสาธารณสุขปฏิบัติการ 1. พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
2. พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558
3. พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550
4. พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545
5. พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
6. พระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ.2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
7. ความรู้เกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพ การเฝ้าระวังโรค การควบคุมป้องกันโรคและภัยสุขภาพ และการฟื้นฟูสุขภาพ การบริการอนามัยแม่และเด็ก การวางแผนครอบครัว
8. ความรู้ด้านการบริหารงานสาธารณสุขเบื้องต้น การจัดทำแผนงานโครงการด้านสาธารณสุข การจัดทำฐานข้อมูลสาธารณสุข การมีส่วนร่วมของประชาชน 
9. ความรู้ที่เกี่ยวกับงานตาม “ลักษณะงานที่ปฏิบัติ” ของตำแหน่งที่สมัครสอบ
20 นักวิชาการสิ่งแวดล้อมปฏิบัติการ 1. พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
2. พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550
3. พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535
4. พระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2535
5. ความรู้เกี่ยวกับการแก้ไข ฟื้นฟู รักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม การตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม และผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม
6. ความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อม เช่น มาตรฐานคุณภาพน้ำ มาตรฐานคุณภาพอากาศ เป็นต้น
7. ความรู้ในกระบวนการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน การส่งเสริมการผลิตและบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และการพัฒนาที่ยั่งยืน
8. ความรู้เกี่ยวกับการวิเคราะห์รายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม และปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ เช่น ภาวะโลกร้อน
9. ความรู้ที่เกี่ยวกับงานตาม “ลักษณะงานที่ปฏิบัติ” ของตำแหน่งที่สมัครสอบ
21 นักวิชาการสุขาภิบาลปฏิบัติการ 1. พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ และที่แก้ไขเพิ่มเติม
2. พระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2535
3. พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535
4. ความรู้ด้านสุขาภิบาล เช่น การสุขาภิบาลอาหารและความปลอดภัยของอาหาร การสุขาภิบาลโรงงาน การสุขาภิบาลทั่วไป การอนามัยสิ่งแวดล้อม อนามัยชุมชน การบำบัดน้ำเสีย การกำจัดขยะมูลฝอย ของเสียอันตราย สิ่งปฏิกูล การควบคุมมลพิษทางน้ำ ทางอากาศ ทางเสียง การควบคุมสัตว์และแมลงนำโรค
5. ความรู้เกี่ยวกับการจัดทำฐานข้อมูลเบื้องต้นที่เกี่ยวข้องกับงานด้านสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับคุณภาพน้ำ อากาศและเสียง พื้นที่เสี่ยง ปริมาณขยะมูลฝอย สถานที่ประกอบกิจการตามกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุข
6. ความรู้เกี่ยวกับงานเทคโนโลยีด้านสุขาภิบาลและสิ่งแวดล้อม เช่น  ระบบบำบัดและควบคุมน้ำเสีย ระบบบำบัดและกำจัดขยะมูลฝอย เป็นต้น
7. ความรู้เกี่ยวกับระบบสารสนเทศทางด้านสุขาภิบาล การผลิตสื่อประชาสัมพันธ์ในรูปแบบต่างๆ
7. ความรู้ที่เกี่ยวกับงานตาม “ลักษณะงานที่ปฏิบัติ” ของตำแหน่งที่สมัครสอบ
22 พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ 1. พระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ. 2541 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
2. พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550
3. พระราชบัญญัติวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ พ.ศ. 2528 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
4. ความรู้ในการปฏิบัติการพยาบาลขั้นพื้นฐานตามมาตรฐานวิชาชีพ 
5. ความรู้เกี่ยวกับการคัดกรอง ประเมินภาวะสุขภาพ วิเคราะห์ปัญหา วินิจฉัยปัญหา ภาวะเสี่ยง เพื่อให้การช่วยเหลือทางนิติวิทยาศาสตร์    การพยาบาล ได้อย่างถูกต้องเหมาะสมทันสถานการณ์และทันเวลา
6. ความรู้เกี่ยวกับการส่งเสริม ป้องกัน ดูแลรักษา ฟื้นฟูสุขภาพประชาชน หรือการบริการอื่นๆ ทางด้านสุขภาพ
8. จรรยาบรรณวิชาชีพพยาบาล
9. ความรู้ที่เกี่ยวกับงานตาม “ลักษณะงานที่ปฏิบัติ” ของตำแหน่งที่สมัครสอบ
23 นายสัตวแพทย์ปฏิบัติการ 1. พระราชบัญญัติโรคพิษสุนัขบ้า พ.ศ. 2535
2. พระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2558
3. พระราชบัญญัติควบคุมการฆ่าสัตว์เพื่อการจำหน่ายเนื้อสัตว์ พ.ศ. 2559
4. พระราชบัญญัติควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ พ.ศ. 2525 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
5. พระราชบัญญัติสถานพยาบาลสัตว์ พ.ศ. 2533
6. พระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557
7. ความรู้ด้านสุขภาพสัตว์ เช่น ภูมิคุ้มกันโรคสัตว์ โรคสัตว์และโรคติดต่อระหว่างสัตว์และคน การชันสูตรโรคสัตว์ การตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ เป็นต้น
8. ความรู้เกี่ยวกับการควบคุมป้องกันโรคระบาดให้แก่สัตว์ การควบคุม เคลื่อนย้ายและกักกันสัตว์ ซากสัตว์ ผลิตภัณฑ์สัตว์ 
9. ความรู้ด้านสัตวแพทย์สาธารณสุข เช่น โรงฆ่าสัตว์ การจัดการสิ่งแวดล้อมด้านการปศุสัตว์ เป็นต้น
10. ความรู้เกี่ยวกับการขยายพันธุ์สัตว์ด้วยวิธีการผสมเทียม และด้านการผลิตสัตว์โดยใช้เทคโนโลยีชีวภาพ ด้านข้อมูลสารสนเทศ ด้านการผสมเทียม การปรับปรุงพันธุ์ การทดสอบพ่อพันธุ์ ด้านความสมบูรณ์พันธุ์ ด้านการผลิตและควบคุมคุณภาพการผลิตน้ำเชื้อสัตว์พ่อพันธุ์และตัวอ่อนตลอดจนพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตสัตว์
11. ความรู้ที่เกี่ยวกับงานตาม “ลักษณะงานที่ปฏิบัติ” ของตำแหน่งที่สมัครสอบ
24 วิศวกรเครื่องกลปฏิบัติการ 1. ความรู้เกี่ยวกับคุณลักษณะเฉพาะของเครื่องมือ อุปกรณ์ ยานพาหนะ และเครื่องจักรกลต่างๆ ที่ใช้ในการปฏิบัติงาน
2. ความรู้เกี่ยวกับการซ่อมแซม และบำรุงรักษาเครื่องมือ อุปกรณ์ และเครื่องจักรกลต่างๆ
3. ความรู้เกี่ยวกับกลศาสตร์วิศวกรรม (Engineering Mechanics)
4. ความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์โปรแกรม (Computer Programming)
5. ความรู้เกี่ยวกับอุณหพลศาสตร์ (Thermodynamics)
6. ความรู้เกี่ยวกับกลศาสตร์ของไหล (Fluid Mechanics)
7. ความรู้เกี่ยวกับความแข็งแกร่งของวัสดุ (Strength Materials) หรือกลศาสตร์ของวัสดุ (Mechanics of Materials)
8. ความรู้เกี่ยวกับการวางโครงการ ออกแบบ คำนวณ ควบคุมการสร้างหรือการผลิต อำนวยการใช้ กำหนดมาตรฐาน ประเมินราคา ติดตั้ง ทดลอง ทดสอบ หรือซ่อมบำรุง เกี่ยวกับงานวิศวกรรมเครื่องกล
9. จรรยาบรรณแห่งวิชาชีพวิศวกรรม
10. ความรู้ที่เกี่ยวกับงานตาม “ลักษณะงานที่ปฏิบัติ” ของตำแหน่งที่สมัครสอบ
25 วิศวกรไฟฟ้าปฏิบัติการ 1. พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๒๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติม
2. ความรู้ด้านการออกแบบระบบไฟฟ้า
3. ความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานการติดตั้งไฟฟ้าสำหรับประเทศไทย
4. ความรู้เกี่ยวกับระบบไฟฟ้ากำลัง ระบบแสงสว่าง และระบบปรับอากาศ
5. ความรู้เกี่ยวกับระบบไฟฟ้าสื่อสาร
6. ความรู้ในการออกแบบระบบไฟฟ้าในอาคาร
7. ความรู้เกี่ยวกับระบบไฟฟ้าและระบบสัญญาณในอาคาร
8. ความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์พลังงาน
9. จรรยาบรรณแห่งวิชาชีพวิศวกรรม
10. ความรู้ที่เกี่ยวกับงานตาม “ลักษณะงานที่ปฏิบัติ” ของตำแหน่งที่สมัครสอบ
26 วิศวกรโยธาปฏิบัติการ 1. พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539
2. พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539
3. พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
4. พระราชบัญญัติขุดดินและถมดิน พ.ศ. 2543 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
5. กฎกระทรวงกำหนดสิ่งอำนวยความสะดวกในอาคารสำหรับผู้พิการหรือทุพพลภาพและคนชรา พ.ศ. 2548
6. ความรู้เกี่ยวกับงานวิศวกรรมโยธาในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายว่าด้วยผังเมือง
7. ความรู้ด้านวิศวกรรมฐานรากและปฐพีกลศาสตร์
8. ความรู้ในการออกแบบและคำนวณโครงสร้างไม้และโครงสร้างเหล็ก วัสดุทางด้านวิศวกรรมโยธาและการทดสอบ
8. ความรู้ด้านวิศวกรรมชลศาสตร์
9. ความรู้เกี่ยวกับกลศาสตร์ของวัสดุ
10. ความรู้ในการวิเคราะห์โครงสร้าง และการออกแบบคอนกรีตเสริมเหล็ก
11. ความรู้เกี่ยวกับระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ในงานวิศวกรรม
12. จรรยาบรรณแห่งวิชาชีพวิศวกรรม
13. ความรู้ที่เกี่ยวกับงานตาม “ลักษณะงานที่ปฏิบัติ” ของตำแหน่งที่สมัครสอบ
27 วิศวกรสุขาภิบาลปฏิบัติการ 1. พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539
2. พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539
3. พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
4. พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
5. ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับวิศวกรรมสุขาภิบาล วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
6. ความรู้ในการสำรวจ ออกแบบ เขียนแบบ และวางผังโครงการ โครงสร้าง และระบบทางวิศวกรรมสุขาภิบาล วิศวกรรมสิ่งแวดล้อมต่างๆ เช่น ระบบประปา ระบบการกำจัดสิ่งปฏิกูล ระบบบำบัดน้ำเสีย ระบบระบายน้ำ ระบบน้ำทิ้ง เป็นต้น
7. วิเคราะห์ และคำนวณโครงสร้าง และระบบต่างๆ ทางวิศวกรรมสุขาภิบาล วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตั้งงบประมาณ
8. จรรยาบรรณแห่งวิชาชีพวิศวกรรม
9. ความรู้ที่เกี่ยวกับงานตาม “ลักษณะงานที่ปฏิบัติ” ของตำแหน่งที่สมัครสอบ
28 สถาปนิกปฏิบัติการ 1. พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 และแก้ไขเพิ่มเติม
2. พระราชบัญญัติสถาปนิก พ.ศ. 2543
3. พระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2518 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
4. ความรู้เกี่ยวกับการออกแบบ และเขียนแบบด้านสถาปัตยกรรม
5. ความรู้ในการวิเคราะห์ ตรวจสอบ และแก้ไขแบบแปลนต่างๆ ในการขออนุญาตก่อสร้างอาคาร เพื่อให้ได้แบบแปลนที่ถูกต้อง และตรงตามมาตรฐาน และ พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร
6. ความรู้ในการคำนวณโครงสร้างทางสถาปัตยกรรม ประมาณราคา และจัดทำราคาเกี่ยวกับการก่อสร้าง การตกแต่งอาคารสถานที่ 
7. ความรู้เบื้องต้นในการออกแบบวางผังสภาพแวดล้อมทางกายภาพของพื้นที่ กลุ่มอาคาร ชุมชนและเมือง 
8. ความรู้เกี่ยวกับโครงสร้างอาคาร และคอนกรีต
9. จรรยาบรรณแห่งวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุม
10. ความรู้ที่เกี่ยวกับงานตาม “ลักษณะงานที่ปฏิบัติ” ของตำแหน่งที่สมัครสอบ
29 นักผังเมืองปฏิบัติการ 1. ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการจัดทำผังเมือง
2. ความรู้เกี่ยวกับทฤษฎีและความรู้ด้านผังเมือง
3. ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายผังเมือง
4. ความรู้เกี่ยวกับการจัดรูปที่ดินเพื่อพัฒนาพื้นที่ และการพัฒนาเมือง
5. ความรู้เกี่ยวกับระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ในการการวางผังเมืองและสภาพแวดล้อม
6. ความรู้เกี่ยวกับการวางแผนและการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม
7. ความรู้เกี่ยวกับการวางแผนและการบริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐานชุมชนเมือง
8. ความรู้เกี่ยวกับการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมเมือง
9. ความรู้ที่เกี่ยวกับงานตาม “ลักษณะงานที่ปฏิบัติ” ของตำแหน่งที่สมัครสอบ
30 นักวิชาการศึกษาปฏิบัติการ 1. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
2. พระราชบัญญัติส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พ.ศ. 2551
3. พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา   พ.ศ. 2547 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
4. พระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ. 2551
5. แผนการศึกษาชาติ พ.ศ. 2560 - 2579
6. ความรู้เกี่ยวกับงานด้านการศึกษาทั้งในระบบ นอกระบบ การศึกษาพิเศษ การศึกษาตามอัธยาศัย
7. ความรู้ในการจัดทำแผนงาน/โครงการต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมสนับสนุนการจัดการศึกษา ศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม
8. ความรู้ในการวางแผนการศึกษา การจัดพิพิธภัณฑ์ทางการศึกษา และจัดทำมาตรฐานสถานศึกษา
9. ความรู้ที่เกี่ยวกับงานตาม “ลักษณะงานที่ปฏิบัติ” ของตำแหน่งที่สมัครสอบ
31 นักสันทนาการปฏิบัติการ 1. พระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ พ.ศ. 2550
2. แผนพัฒนานันทนาการแห่งชาติ
3. ความรู้ในการวิเคราะห์ และจัดทำแผนปฏิบัติงาน แผนปฏิบัติการ และแผนงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานสันทนาการ 
4. ความรู้ในการจัดทำโครงการ และกิจกรรมด้านสันทนาการต่างๆ
5. ความรู้ที่เกี่ยวกับงานตาม “ลักษณะงานที่ปฏิบัติ” ของตำแหน่งที่สมัครสอบ
32 บรรณารักษ์ปฏิบัติการ 1. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
2. พระราชบัญญัติส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พ.ศ. 2551
3. พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา  พ.ศ. 2547 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
4. ความรู้ทางบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์
5. ความรู้เกี่ยวกับการจัดหมวดหมู่และการจัดทำบัตรรายการ
6. ความรู้เกี่ยวกับการจัดการห้องสมุดและศูนย์สารสนเทศ
7. ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารนิเทศและการประยุกต์ใช้
8. ความรู้เกี่ยวกับการบริการอ้างอิงและสารนิเทศ
9. การบริหารงานการบริการห้องสมุด การส่งเสริมการใช้ห้องสมุด และการส่งเสริมการอ่าน
10. ความรู้เกี่ยวกับห้องสมุดประชาชนและห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์
11. ความรู้เกี่ยวกับการจัดเก็บและการค้นสืบสารสนเทศ
12. ความรู้ที่เกี่ยวกับงานตาม “ลักษณะงานที่ปฏิบัติ” ของตำแหน่งที่สมัครสอบ
33 นักพัฒนาการกีฬาปฏิบัติการ 1. แผนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ ฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2560 – 2564)
2. ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับพลศึกษา การกีฬา นันทนาการ และวิทยาศาสตร์การกีฬา
3. ความรู้เกี่ยวกับการวิเคราะห์ การวางแผน การจัดทำโครงการและการจัดทำแผนพัฒนาการกีฬา นันทนาการ และวิทยาศาสตร์การกีฬา
4. ความรู้เกี่ยวกับหลักการ แนวคิดและจริยธรรมในวิชาชีพด้านการกีฬา นันทนาการ และวิทยาศาสตร์การกีฬา
5. ความรู้เกี่ยวกับนันทนาการ
    - ผู้นำนันทนาการ
    - นันทนาการชุมชน
    - การจัดการนันทนาการ
    - นันทนาการในสถานที่ต่างๆ 
    - การจัดกิจกรรมนันทนาการในรูปแบบต่างๆ
6. ความรู้ที่เกี่ยวกับงานตาม “ลักษณะงานที่ปฏิบัติ” ของตำแหน่งที่สมัครสอบ

หลักสูตรและวิธีการสอบแข่งขัน ตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับปฏิบัติงาน
หลักสูตรและวิธีการสอบแข่งขัน ตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ-1
 

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

ยังไม่มีความคิดเห็น โพสต์เลยตอนนี้
^